วัฒนธรรมของเตหะรานเต็มไปด้วยสีสันมากมาย ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลมาจากชาวเปอร์เซียน ซึ่งวัฒนธรรมของพวกเขาเป็นที่สนใจอย่างมากในหมู่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ นอกจากนี้ยังมีแหล่งประติมากรรม และผลงานจิตกรรมที่มีชื่อเสียงมากมาย รวมถึงพิพิธภัณฑ์แห่งชาติอิหร่าน และพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัย สถาปัตยกรรมที่เก่าแก่ของเตหะรานคือ ‘อนุสาวรีย์เตะหะราน’ จากยุค Qajari ไปจนถึง Pahlavi นอกจากนี้ยังมีปราสาท Rashkan Castle ที่ย้อนกลับไปไกลถึงช่วงยุคจักรวรรดิ Parthain ซึ่งของโบราณส่วนใหญ่ยังคงถูกเก็บอาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รวมไปถึงมหาวิหาร Bahram Fire ที่อยู่มานับตั้งแต่ยุค Sassanian Empire
เตหะรานถือเมืองที่มีประชากรน้อยมาก จนกระทั่งในยุคศตวรรษที่ 18 พวกเขาเริ่มมีบทบาทสำคัญในสังคมชาวอิหร่าน หลังจากถูกตั้งให้เป็นเมืองหลวงของประเทศ แม้จะมีเหตุการณ์แผ่นดินไหวเกิดขึ้นเป็นประจำในช่วงยุค Qajar อย่างไรก็ตามอาคารประวัติศาสตร์บางแห่งยังคงหลงเหลืออยู่ เตหะรานเป็นเมืองหลวงของอิหร่านที่ถือว่ามีโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัยที่สุดในประเทศ อย่างไรก็ตามการก่อสร้างเหล่านี้จำเป็นต้องรื้อถอนอาคารที่มีความสำคัญทางวัฒนธรรม ทำให้เกิดความกังวลกับผู้คนมากมาย

ก่อนหน้าที่เตหะรานเป็นเมืองเล็กๆ ที่ไม่ค่อยเจริญนัก เพราะมีเหตุการณ์แผ่นดินไหวเกิดขึ้นบ่อย แต่ด้วยความจำเป็นในการขยายที่อยู่อาศัยให้เพียงพอกับประชากรของประเทศ ทำให้เมืองค่อยๆ เริ่มเติบโตเรื่อยมา นับจากนั้นก็ไม่มีแผ่นดินไหวใหญ่เกิดขึ้นอีกเลยตั้งแต่ปี ค.ศ. 1830 อาคารที่สูงที่สุดในเตหะรานคือหอคอยนานาชาติของกรุงเตหะราน เป็นอาคารที่พักอาศัยที่สูงที่สุดในอิหร่าน มีความสูง 54 ชั้น ตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือของ Yusef Abad
หอคอย Azadi Tower เป็นอนุสรณ์ที่สร้างขึ้นภายใต้การปกครองของราชวงศ์ Pahlavi เป็นสัญลักษณ์ที่มีชื่อเสียงที่สุดของกรุงเตหะราน แต่เดิมสร้างขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงปีที่ 2,500 ของการก่อตั้งอิหร่าน เป็นการผสมผสานองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมของยุค Achaemenid และ Sassanid เข้ากับสถาปัตยกรรมอิหร่านยุคหลังคลาสสิค ถัดมาคือหอคอย Milad Tower ซึ่งเป็นหอคอยที่สูงที่สุดเป็นอันดับที่หก และโครงสร้างที่สูงที่สุดอันดับาที่ 24 ของโลก
โรงละครสุดหรูราของเตหะราน
เตหะรานเต็มไปด้วยวัฒนธรรมที่สวยงามมากมาย รวมไปถึงศิลปะการแสดงด้วยเช่นกัน ทำให้เตหะรานมีโรงละครสุดหรูอยู่หลายแห่ง เช่น Golestan Palace ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเมือง ถูกใช้ในการแสดงประเพณี และทำพิธีทางศาสนา น่าเสียดายที่มันก็ถูกทำลายลง ก่อนจะถูกถูกแทนที่ด้วยธนาคารในปี 1947 หลังจากการปฏิรูปภายใต้รัชสมัยของ Reza Shah ก่อนการปฏิวัติอิหร่านในปี 1979 โรงละครแห่งนี้มีชื่อเสียงที่สุดของศิลปินต่างประเทศ ต่อมาได้มีการสร้างโรงละครแห่งใหม่ขึ้นมาคือ Roudaki Hall of Tehran สร้างขึ้นเพื่อทำหน้าที่เป็นเวทีการแสดงระดับชาติ เพื่อแสดงโอเปร่ากับบัลเล่ต์ เปิดตัวครั้งแรกในเดือนตุลาคม 1967 ได้รับการตั้งชื่อตามกวีชาว Rudaki ชาวเปอร์เซียผู้โด่งดัง
กีฬาที่โปรดปรานของชาวเตหะราน
ฟุตบอลและวอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของเมือง ขณะที่แอโรบิก บาสเกตบอล ฟุตซอล รวมถึงการเล่นโยคะเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมของชาวเมือง 12 สกีรีสอร์ตที่เปิดให้บริการในอิหร่านที่โด่งดังที่สุดคือโทลคาล ดิซิน กับเชมชาก ใช้เวลาเดินทางหนึ่งถึงสามชั่วโมงจากเมืองเตหะราน โทลคาลเป็นรีสอร์ตที่ตั้งอยู่บนความสูง 3,730 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ถือเป็นรีสอร์ตที่อยู่ใกล้เมืองหลวงมากที่สุด เปิดทำการมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1976
เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญที่ได้รับความสนใจจากผู้คนที่มีชื่อเสียงมากมาย นอกจากนี้เตหะรานยังมีสนามกีฬาแห่งชาติ Azadi Stadium ที่สามารถจุผู้ชมได้มากที่สุดในเอเชียตะวันตก ซึ่งถูกใช้เป็นที่จัดการแข่งขันพรีเมียร์ลีกของอิหร่านหลายนัด สนามกีฬาเป็นส่วนหนึ่งของ Azadi Sport Complex ซึ่ง แต่เดิมสร้างขึ้นเพื่อเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 7 ในเดือนกันยายน 1974 เป็นครั้งแรกที่เอเชียนเกมส์ได้ถูกจัดขึ้นในแถบเอเชียตะวันตก โดยมีกรุงเตหะรานเป็นเจ้าภาพให้นักกีฬา 3,010 คนจาก 25 ประเทศ ซึ่งเป็นจำนวนผู้เข้าร่วมสูงสุดในประวัติศาสตร์เอเชียนเกมส์